การจัดการองค์ความรู้งานด้านวิศวกรรมโยธายกระดับในงานระบบขนส่งทางราง (Knowledge Management Civil Engineer work of superstructure in Railway system )

กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นเป็นเมืองเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง จึงเกิดปัญหาเรื่องการจราจรติดขัด ซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเมืองอย่างมาก การคมนาคมจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญก้าวไปข้างหน้าเพื่อตอบสนองต้องความต้องการของประชากรในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจึงมีแผนนโยบายระบบการขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร
การขนส่งที่จะช่วยทำให้การเดินทางของประชาชนในเมืองสะดวกยิ่งขึ้นก็คือ รถไฟฟ้า ซึ่งเป็นแนวคิดของรัฐบาลที่จะใช้การพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนระบบรางมาช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยจะทำการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าจำนวน 10 สาย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จะช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวก ลดเวลาในการเดินทาง ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
รูปแบบของโครงสร้างของระบบรางนั้น มีหลายประเภท เช่น โครงสร้างยกระดับ โครงสร้างระดับพื้น และโครงสร้างรถไฟใต้ดิน แต่ในพื้นที่ที่จำกัด ราคาสูง และปัญหาการจราจร จึงนิยมการออกแบบทางวิ่งรถไฟฟ้าลักษณะโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ อย่างเช่นรถไฟฟ้า บีทีเอส รถไฟฟ้าสายสีม่วง หรือ โครงการระบบขนส่งทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
การออกแบบโครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้ายกระดับมีความแตกต่างในบางส่วนกับการออกแบบโครงสร้างทางวิ่งยกระดับทั่วไป จึงทำการศึกษาข้อมูล รวบรวมข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบระหว่างโครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้ายกระดับ และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับทั่วไป ในส่วนของการออกแบบ และการก่อสร้าง เพื่อเป็นประโยชน์แก่วิศวกรที่สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่เกี่ยวข้องได้

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม