มาตรฐานประเทศไทย

มาตรฐานประเทศไทย




             ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางราง 3 ฉบับคือ
-          พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง ปี พ.ศ. 2464
-          พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2494
-          พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2543

             พระราชบัญญัติการจัดวางรถไฟและทางหลวง ปี พ.ศ. 2464 ได้มีการออกข้อบังคับมาตรฐานทางเทคนิคและมาตรฐานด้านความปลอดภัยไว้ด้านการก่อสร้างและบำรุงทาง ด้านการบรรทุกสิ่งของ ด้านความปราศภัยแห่งประชาชน และด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รถไฟ ถือว่าครอบคลุมตั้งแต่การก่อสร้าง การบริหารจัดการเดินรถ ตัวรถไฟและความปลอดภัยในปัจจุบันการออกแบบและก่อสร้างตามโครงการต่างๆส่วนมากมักอ้างอิงจากมาตรฐานต่างประเทศเป็นหลัก
             ประเทศไทยได้มีการตรากฏหมายพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2511 โดยมีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับรองและพัฒนามาตรฐานอยู่ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมคือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.)สมอ.ได้กำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม ภายในมอก.แต่ละเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น
             ในปัจจุบัน สมอ.ได้กำหนดเครื่องหมายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมีอยู่ 6 รูปแบบ

1.      เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ สมอ. กำหนดมาตรฐาน ของผลิตภัณฑ์นั้นไว้แล้วซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ (มาตรฐานทั่วไป) เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในมาตรฐานและหลัก ประกันให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้มค่า และเหมาะสมกับราคา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารวัสดุก่อสร้าง วัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น


2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับเป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไป ตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ บริโภคและป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดต่อเศรษฐกิจและ สังคม โดยส่วนรวม โดยกฎหมายบังคับผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้ จำหน่าย จะต้องผลิต นำเข้า และจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไป ตามมาตรฐานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ติดแสดงไว้ทุกหน่วยเพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้น ได้ผ่านการตรวจสอบรับรองแล้วตามกฎหมาย เช่น ไม้ขีดไฟ สายไฟฟ้า บัลลาสต์ ผงซักฟอก ท่อพีวีซี ผลิตภัณฑ์ เหล็ก ถังดับเพลิง ของเล่นเด็ก หมวกกันน๊อค เป็นต้น

3.   เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัยเป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งสำนักงานฯ จะกำหนดมาตรฐานโดยเน้นเฉพาะเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญเพื่อให้การคุ้มครองแก่ ผู้บริโภคด้านความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น เตารีด พัดลมไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องหมายที่มีทั้งแบบบังคับ และไม่บังคับ หากเป็นแบบ บังคับก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ต้องทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตาม มาตรฐานที่ กำหนดทั้งผู้ทำผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย

4.    เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติใน การรักษาสิ่งแวดล้อม เช่นการประหยัดน้ำและการไม่ก่อให้เกิด มลพิษในอากาศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และการ รักษาสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศ เช่น เครื่องซักผ้า ประหยัดน้ำ ตู้เย็นที่ไม่ใช้สาร CFC เป็นต้น เครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับ และไม่บังคับหากเป็นแบบบังคับก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ ต้อง ทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งผู้ทำ ผู้นำเข้า และ ผู้จำหน่าย

5.   เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติของความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นหรือใช้พร้อมกันได้และไม่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ในระดับหนึ่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องรับ-ส่งวิทยุและเครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้นเครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับ และ ไม่บังคับหากเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้า และจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้ มาตรฐานเท่านั้น

6.    เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)ในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) นั้นผู้รับรอง คือ สำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จะเป็นผู้ให้การรับรอง โดยจะมีเงื่อนไขการรับรอง ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และต่างจากการให้การรับรองเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ของสมอ. จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ดังภาพด้านบนไว้ที่ผลิตภัณฑ์

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม